ช่างกลโรงงาน เป็นอีกหนึ่งสาขาวิชาหนึ่งที่เปิดให้มีการเรียนการสอน ในระดับวิทยาลัยเทคนิคหรือสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนทางด้านช่างอุตสาหกรรม จัดอยู่ในวิชาชีพด้านวิศวกรรม ซึ่งว่าด้วยการสร้าง – ซ่อม ตั้งแต่ระดับชิ้นส่วนเล็กๆ จวบจนถึงการประกอบให้เป็น เครื่องจักรขนาดใหญ่ โดยการใช้ทักษะ ความรู้ และเครื่องมือกล

โดยเครื่องจักรทุกชนิด , แม่พิมพ์ , เรือรบ , เครื่องบิน ซึ่งขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์ ทุกอย่างล้วนเริ่มจากชิ้นส่วนเล็กๆก่อนทั้งนั้น โดยก็ต้องผลิตจากเครื่องมือกลทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นการศึกษาวิชาในเรื่องของช่างกลโรงงาน จึงเรียนในเรื่องที่เกี่ยวกับการสร้างชิ้นส่วน เริ่มตั้งแต่ การออกแบบวัสดุศาสตร์ , กรรมวิธีการผลิต ตลอดจนการบรรจุเครื่องจักรกลที่ใช้ในการผลิต ก็มีหลากหลายประเภทขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิต ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นการขึ้นรูปก็สามารถทำด้วยการตัดขึ้นรูป เช่น เครื่องกลึง , เครื่องกัด , เครื่องเลื่อย เป็นต้น หรือสร้างจากรูปแบบอื่นๆเช่น การหล่อ , การตีขึ้นรูป , การใช้แม่พิมพ์ทั้งแบบโลหะและแบบพลาสติก เป็นต้น

จากข้อมูลของสายอาชีพที่กำลังมาแรงและขาดแคลนบุคลากรของ ‘กรมการจัดหางาน’ ในช่วงปี พ.ศ. 2557- 2560 พบว่ามีความต้องการแรงงานปีละไม่ต่ำกว่า 165,000 คน โดยเฉพาะสายอาชีพที่มีความต้องการสูงเป็น 3 เท่า คือ ระดับอาชีวะต้องการช่างกลโรงงาน ถึงร้อยละ 50 ส่วนในอุดมศึกษา ต้องการช่างวิศวกรรม มากกว่า 70 เพราะฉะนั้นคุณจะเห็นได้ว่าอาชีพ ‘ช่างกลโรงงาน’ ก็เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มีความน่าสนใจ เพราะมีตลาดแรงงานรองรับอย่างกว้างขวาง

รายละเอียดของสาขาวิชา

สาขาการเรียนของช่างกลโรงงาน เกี่ยวข้องกับเครื่องกล เครื่องจักร หรือเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น เครื่องไส , เครื่องกลึงรวมทั้งเครื่องยนต์ชิ้นใหญ่ต่าง ๆ เป็นต้น ในส่วนของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสาขาช่างกล ทางสถานศึกษาให้ความสำคัญในการฝึกปฏิบัติควบคู่ไปพร้อมกับทฤษฎี โดยมุ่งเน้นการให้ความรู้รวมทั้งทักษะต่างๆ เช่น ความรู้พื้นฐานเรื่องเครื่องยนต์กลไก , ความรู้เรื่องระบบการทำงาน , การดูแลรักษา , การซ่อมบำรุงต่าง ๆ เป็นต้น

แนวทางการศึกษาหลังจากจบ

  • ปวช. สาขาช่างกลโรงงาน
  • ปวส. สาขาช่างกลโรงงาน
  • ปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมเครื่องกล , สาขาวิศวกรรมการผลิต , สาขาวิศวกรรมอุสาหการ เป็นต้น
  • ปริญญาโท
  • ปริญญาเอก

ลักษณะของการทำงานที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ

  • ตรวจสอบสภาพการทำงานของเครื่องจักรกลในโรงงาน
  • ดูแล – รักษาเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ต่างๆ ตามโรงงาน
  • ตรวจเช็คสภาพการทำงานของเครื่องกล
  • อื่นๆ

จบแล้วประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง

  • เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเครื่องกลในโรงงาน
  • ผู้ช่วยวิศวกร
  • ทำธุรกิจเปิดกิจการซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ และเครื่องกลต่าง ๆ
  • สามารถเป็นได้ทั้งพนักงานรัฐและพนักงานเอกชน
  • เจ้าหน้าควบคุมการผลิต
  • เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์เครื่องกลต่างๆ
  • ผู้ประกอบการกิจการโรงงานขนาดใหญ่
ครูผู้สอน